รู้หรือไม่? ที่อเมริกาผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คนมีภาวะสายตาเอียง และแนวโน้มคนที่มีภาวะสายตาเอียงจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และส่วนมากมักพบอาการสายตาเอียงเกิดขึ้นร่วมกับสายตาสั้น สายตายาว ในประเทศไทย ผู้มีปัญหาสายตากว่า 50% มักจะมีค่าสายตาเอียงร่วมด้วย

5 อาการแบบนี้ “สายตาเอียง” ชัวร์!

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ “สายตาเอียง” หรือไม่ เช็กได้จาก 5 อาการต่อไปนี้พร้อมสาเหตุของอาการ มองเห็นภาพมีเงา หรือ ไม่ชัดตลอดเวลา : อาการนี้เกิดจากกระจกตาในแต่ละแกนองศามีกำลังหักเหแสงที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดจุดโฟกัสขึ้นมากกว่าหนึ่งจุดในตำแหน่งที่ต่างกัน ทำให้มีอาการตามัว ภาพที่เห็นจะเหมือนมีเงาลางๆ ตลอดเวลา

เห็นเเสงฟุ้งกระจายเวลามองดวงไฟ โดยเฉพาะตอนกลางคืน : เกิดจากแสงที่โฟกัสมากกว่าหนึ่งตำเเหน่งร่วมกับภาวะที่รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้นจึงเกิดความคลาดแสงเพิ่มขึ้น จนทำให้เห็นเเสงฟุ้งกระจายเป็นเส้นๆ

แพ้แสง สู้แสงไม่ได้ : เกิดจากระบบการรับภาพของดวงตาที่รับจุดโฟกัสแสงหลายจุดพร้อมกันมากเกินไปจนทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองด้วยอาการแพ้แสงขึ้น

มีอาการเมื่อย ล้าตา ปวดกระบอกตา : มักจะเกิดเวลาใช้สายตาทำงานระยะใกล้ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ เนื่องจากคนที่มีสายตาเอียงมักจะมองเห็นภาพไม่ชัด จึงต้องอาศัยการเพ่งของกล้ามเนื้อตาเพื่อลดเงาให้น้อยลงช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้ แต่ดวงตาจะอ่อนแรงจากการทำงานหนักนำไปสู่อาการปวดตา ปวดหัวได้

ขับรถตอนกลางคืนลำบากกว่ากลางวัน : เนื่องจากแสงสว่างตอนกลางวันทำให้รูม่านตาหดเล็กลงซึ่งเป็นการลดความคลาดแสงต่างๆ ให้น้อยลงภาพจึงชัดขึ้น ต่างจากกลางคืนที่รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น จึงเพิ่มความคลาดแสงต่างๆ ภาพที่เห็นจึงเบลอ

“สายตาเอียง” หากไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตระยะยาว

อาการสายตาเอียง เกิดได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ เกิดจากกระจกตามีความโค้งในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้การโฟกัสของแสงมีปัญหา ส่วนอาการมากน้อย ยังขึ้นอยู่กับค่ากำลังของสายตาเอียงที่มี แต่โดยปกติแล้ว สายตาเอียงมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับสายตาสั้นและสายตายาวที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ยกเว้นผู้ที่มีโรคตาอื่นๆ ร่วมด้วย อาจส่งผลให้ค่าสายตาเอียงเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ดังนั้น หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและแก้ไขที่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว ทั้งการมองเห็นภาพไม่ชัดจนต้องเพ่งและเกิดอาการเมื่อยล้าตา วิสัยทัศน์ตอนกลางคืนแย่ลงจนอาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

ทราบหรือไม่ว่าค่าสายตาเอียงที่สูงมากๆและมีท่าทีว่าจะยังมากขึ้นอีกเรื่อยๆ กล่าวคือมากกว่า-4.00Dขึ้นไป จะมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคกระจกตาโป่ง(Keratoconus)สูงขึ้น การได้รับประเมินด้วยการตรวจเครื่องWAMจะสามารถค้นพบโรคนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้ชะลอการดำเนินของโรคได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที

หากสงสัยว่าคุณกำลังมี 5 อาการข้างต้นและกังวลว่าจะส่งผลระยะยาวต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษานักทัศนมาตรเพื่อประเมินอาการและตรวจวัดสายตาเบื้องต้น ยิ่งถ้าคุณมีปัญหาสายตาสั้นและสายตายาวอยู่แล้ว ควรตรวจวัดสายตาทุกๆ 6เดือน เพื่อติดตามอาการและแก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างถูกต้อง

ติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสายตาและตรวจวัดค่าสายตาได้ที่ Occura

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

แว่นตาโอคูระ

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Recent Posts

This website uses cookies.