เลนส์สองชั้น (Bifocal) vs เลนส์โปรเกรสซีฟ (progressive) ไร้รอยต่อ

ในบทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบคุณสมบัติของ เลนส์ 2 ชั้น Vs เลนส์โปรเกรสซีฟ หลายชั้นไร้รอยต่อ

 

เปรียบเทียบคุณสมบัติของเลนส์ 2 ชั้น กับ เลนส์โปรเกรสซีฟ ไร้รอยต่อ
Source: www.goggles4u.com

เลนส์ 2 ชั้น ( Bifocal ) คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร

Bifocal เลนส์จะมีสองชั้น เนื่องจากความโค้งของเลนส์สำหรับมองไกลและใกล้นั้นต่างกันมาก จึงเกิดรอยต่อชัดเจน ส่วนบนของเลนส์มีไว้สำหรับมองไกล และส่วนล่างที่มีรูปทรงคล้ายถ้วยมีไว้สำหรับอ่านหนังสือ เลนส์ชนิดนี้จะเกิดภาพกระโดด (image jump) เวลามองผ่านรอยต่อ คนสูงอายุที่ใช้เลนส์ประเภทนี้ต้องระวังเป็นพิเศษเวลาขึ้นบันใดหรือเดินต่างระดับ ผู้ใช้จะต้องเลือกว่าจะเอาเลนส์ส่วนบน (ซึ่งมองไม่ชัด) หรือเลนส์ส่วนล่าง (ซึ่งก็ยังมองไม่ชัด) มาใช้ ทำให้ผู้ใช้ปรับตัวยาก

 

เลนส์ 2 ชั้น แบบมีรอยต่อ

 

สาเหตุของการเกิดภาพกระโดดในเลนส์ 2 ชั้น

สาเหตุของการเกิดภาพกระโดดในเลนส์ Bifocal มาจากการที่เลนส์ไม่มีระยะกลาง (70 ซม – 3 เมตร) ให้ผู้ใช้ ทำให้เกิดภาพกระโดดเวลาผู้ใช้เปลี่ยนระยะการมองจากมองไกลมามองใกล้ อีกปัญหาหนึ่งของเลนส์นี้คือผู้สวมใส่จะดูแก่ เนื่องจากตัวเลนส์มี 2 ชั้นชัดเจน และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เลนส์ Lab พัฒนาเลนส์โปรเกรสซีฟที่มีระยะโฟกัสที่ไกล, กลาง, ใกล้ เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนได้สายตาวัยหนุ่มสาวกลับมาอีกครั้งหนึ่ง


เลนส์โปรเกรสซีฟหลายชั้น ไร้รอยต่อ ( Progressive Lens )

เลนส์โปรเกรสซีฟ ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหากับผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่กำลังโฟกัสของเลนส์ตาไม่เพียงพอต่อการใช้สายตาระยะอ่านหนังสือและหน้าจอคอมพิวเตอร์ เลนส์ชนิดนี้ยังสามารถโฟกัสได้หลายระยะโดยไม่มีรอยต่อเพื่อความสวยงามและเยาว์วัยของผู้ใส่ เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นมีโซนหลักๆ อยู่ 4 โซน


จำลองภาพการทำงานของ เลนส์โปรเกรสซีฟ หลายชั้น ไร้รอยต่อ

  1. Distant Zone : เป็นโซนสำหรับมองไกล เป็นโซนที่กว้างและมีความเสถียรภาพที่สุด
  2. Near Zone : เป็นโซนระยะใกล้สำหรับอ่านหนังสือ เล่นมือถือ ซึ่งจะอยู่พื้นที่ล่างสุดของโปรเกรสซีฟเลนส์
  3. Progressive Corridor : เป็นโซนทางเชื่อมระหว่าง Distant zone และ Near zone ทำให้เลนส์โปรเกรสซีฟสามารถใช้งานระยะกลางได้ และไม่เกิดภาพกระโดด
  4. Blending Region : จะอยู่บริเวณด้านข้างของโปรเกรสซีฟ ซึ่งเป็นพื้นที่บิดเบี้ยวจาก unwanted oblique cylinder เนื่องจากเลนส์โปรเกรสซีฟมีหลายค่าสายตาจึงมีหลายความโค้ง ดังนั้นจึงมีการใส่ (Unprescribe) Plus cylinder เพื่อที่จะให้เกิดการหลอมรวมของรอยต่อดั่งภาพ (A3 ด้านล่าง)
    A3.) เวลาเลนส์มีหลากหลายค่าสายตา จะต้องมีโค้งหลายๆ โค้งติดกันเป็นชั้นๆ เหมือนสเตปขั้นบันได แต่ปัญหาคือคงไม่มีใครต้องการใส่เลนส์ที่ดูเหมือนขั้นบันไดบนใบหน้า ทาง Lab จึงคิดค้นวิธีทำให้เลนส์ดูเรียบเนียนเข้าด้วยกันโดยการขัดเลนส์ plus cylinder (เอียงบวก) เข้าไปในแนวเฉียงที่บริเวณด้านข้างของเลนส์โปรเกรสซีฟทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวด้านข้างในโครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟดั่งในภาพด้านล่าง


A3 ภาพแสดงค่า Blending Region ของเลนส์โปรเกรสซีฟ
Source: System for Ophthalmic Dispensing by Clifford W. Brooks

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

แว่นตาโอคูระ

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Recent Posts

This website uses cookies.