เภสัชกรสาววัย 32 ปี มีปัญหาเวลามองตอนกลางคืนหรือในภาวะแสงน้อยจะรู้สึกว่าความคมชัดต่างจากตอนกลางวันเป็นอย่างมาก “พี่มักมีปัญหามองไม่ชัดตอนกลางคืน ทำให้ใช้ชีวิตลำบากมากโดยเฉพาะตอนขับรถ แต่ช่วงกลางวันมองเห็นได้ดีกว่าเลยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะสายตาเพิ่มขึ้นหรือเปล่า” จากการซักประวัติทราบว่าไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามีการออกแดดกลางแจ้งค่อนข้างบ่อย สุขภาพตาปกติ
ตัดแว่น เปลี่ยนเลนส์ แก้ปัญหาสายตาสั้นตอนกลางคืน หรือ ขับรถในที่แสงน้อย แล้วมองเห็นไม่ชัด
Old Prescription (แว่นเดิม)
R. -7.25-0.25×82 ระดับการมองเห็น20/40
L. -7.50-0.50×78 ระดับการมองเห็น20/30
ระดับการมองเห็นสองตา20/30
New Prescription (แว่นใหม่)
R. -8.75-0.50×5 ระดับการมองเห็น20/20
L. -8.75-0.75×25 ระดับการมองเห็น20/20
ระดับการมองเห็นสองตา20/20
จากการตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดพบว่ามีสายตาสั้นเพิ่มขึ้น มองเห็นภาพไม่ชัดในช่วงกลางคืน เพราะแสงจากภายนอกที่น้อยจะกระตุ้นรูม่านตาขยายกว้างขึ้นค่าสายตาสั้นทั้งหมดที่มีจะแสดงออกมาส่งผลให้ภาพเบลอมากขึ้นตามไปด้วย ต่างจากตอนกลางวันที่แสงภายนอกเยอะรูม่านตาจะหดเล็กลงช่วยชดเชยค่าสายตาสั้นได้ระดับหนึ่งจึงมองเห็นภาพคมชัดขึ้น อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือค่าองศาของสายตาเอียงในแว่นเดิมที่ใส่มาผิด (แว่นเดิมคือค่า 82 และ 78 แว่นใหม่คือค่า 5 และ 25) ค่าเหล่านี้หากใส่ไม่ถูกต้องนอกจากจะไม่แก้ไขให้ภาพชัดขึ้นแล้วยังกลับทำให้ภาพแย่ลงอีกด้วย
เป็นพรีเมี่ยมเลนส์ชั้นเดียวย่อบางสูงสุดจากญี่ปุ่น ที่มีการผลิตด้วยเทคโนโลยีแบบ Freeform เสริมด้วยฟังก์ชั่นBinocular Balance และนำค่าเฉพาะบุคคลเข้าไปคำนวณ ทำให้ได้โครงสร้างที่มีภาพบิดเบือนด้านข้างลดลง โดยเฉพาะเคสที่ค่าสายตาใหม่เพิ่มขึ้นจากเก่ามากแบบนี้จะส่งผลให้ปรับตัวได้ง่ายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มาพร้อมกับเทคโนโลยีเปลี่ยนสีเมื่อออกแดดใหม่ล่าสุดเรียกว่า Transition 8 เป็นเลนส์ช่วยป้องกันแสง UV จากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และ มองได้สบายตามากขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
สายตาสั้นตอนกลางคืน – ตกเย็นแล้วมองไม่ชัด เห็นแสงพร่า ลักษณะของอาการของภาวะสายตาสั้นในตอนกลางคืน
กลางวันมองเห็นชัดปกติแต่มองไม่ชัดตอนกลางคืน
เห็นแสงฟุ้งกระจายมากกว่าปกติในตอนกลางคืน เช่น แสงไฟจากรถที่ขับสวนมาหรือไฟจราจร
กลไกการเกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน
สำหรับคนที่สายตาปกติ ในระยะ 6 เมตรที่มีแสงสว่างเพียงพอ เราจะรู้สึกเหมือนเห็นภาพชัดโดยที่ไม่ได้เพ่ง แต่ในความเป็นจริงนั้น ในเวลากลางวันแสงไม่ได้ตกลงพอดีที่จอประสาทตาเสมอไป บางครั้งแสงไปตกลงหลังจอประสาทตา ดวงตาของเราจึงมีระบบเพ่งอัตโนมัติ (Tonic Accommodation) ที่มีกำลังเพ่งประมาณ +0.50 D. ระบบนี้จะช่วยซูมภาพ ทำให้ภาพกลับมาโฟกัสที่จอประสาทตาพอดี เพื่อความคมชัดในเวลากลางวัน แต่ในเวลากลางคืนระบบนี้จะหยุดพัก…ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม
กรอบแว่นหน้าทรงกลมรุ่นนี้เหมาะกับเลนส์ที่มีค่าสายตาสั้นสูง เนื่องจากช่วยให้ความหนาด้านข้างของเลนส์มีความบาลานซ์กันมากขึ้น ขาแว่นออกแบบมาให้มีความกระชับเกาะใบหน้าได้ดีเมื่อใส่เลนส์ที่มีน้ำหนักมากๆสมดุลของน้ำหนักตอนใส่แว่นก็ยังคงดีเยี่ยม วัสดุตัวแว่นทำจากไทเทเนี่ยมช่วยให้มีความทนทานต่อการกัดเซาะจากเหงื่อเมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานานๆ
กรอบแว่น Stephan Christian : Ludic C.RGBK
สรุปจากเคสนี้แสดงให้เห็นว่าสายตาที่เพิ่มขึ้นไม่จำเป็นที่จะต้องรู้สึกว่าแย่ลงทั้งกลางวันและกลางคืน ในบางท่านอาจรู้สึกว่าแย่ลงเฉพาะตอนกลางคืนเพียงอย่างเดียวก็ได้และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมช่วงกลางวัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการปล่อยปละละเลยโดยไม่แก้ไขค่าสายตาจะไม่มีผลเสียต่อสุขภาพตา ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับแก้ไขก่อนที่จะมีปัญหาอื่นตามมาในภายหลัง
ดูสินค้ากรอบแว่นตา Stephane Christian
ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision
100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
ลูกค้าเก่าวัย 6…
ลูกค้าเก่า วัย …
This website uses cookies.