เมื่อยุคสมัยของโลกเปลี่ยนแปลงไป สื่อการเรียนรู้หรือข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มักจะมาในรูปแบบออนไลน์ การใช้สายตาของเด็กในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากอดีต จากฐานข้อมูลในปัจจุบันพบว่า เด็กในช่วงวัย 5-12 ปี มีค่าสายตาสั้นอย่างรวดเร็ว บทความนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับภาวะสายตาสั้นในเด็ก พร้อมจำแนกวิธีแก้ไขในแบบต่าง ๆ รวมถึงคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ Occura
สายตาสั้น หรือ ภาวะไมโอเปีย (Myopia) เป็นภาวะที่ดวงตาไม่สามารถโฟกัสภาพระยะไกลได้ชัดเจน เนื่องจากแสงที่เข้าตาจะตกก่อนถึงจอตา ส่งผลให้มองเห็นภาพเบลอ แต่ยังมองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน ซึ่งภาวะสายตาสั้นในเด็กไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลอสายตาสั้นได้
พฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าเด็กสายตาสั้น มีดังต่อไปนี้
ที่จริงแล้วเด็กทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการสัญญาณเสี่ยงที่จะมีภาวะสายตาสั้น เนื่องจากการรักษาจะช่วยชะลอสายตาสั้นในเด็ก ไม่ให้ค่าสายตาเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ภาวะสายตาสั้นส่งผลต่อการเรียนรู้และชีวิตประจำวันมากกว่าที่คิด หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนี้
สำหรับเด็กที่ยังสายตาปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันภาวะเด็กสายตาสั้นด้วยวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน โดยจำกัดเวลาตามช่วงวัยที่แตกต่างกันดังนี้
พร้อมปรับระยะห่างในการอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ ให้อยู่ในระยะห่างประมาณ 18-24 นิ้ว ตั้งค่าความสว่างหน้าจอให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป หากเป็นไปได้ควรให้พักสายตาเป็นระยะ โดยให้เด็กมองวัตถุระยะไกล เช่น ต้นไม้ ตึก ทุก 20 นาที เพื่อป้องกันเด็กสายตาสั้นจากการเพ่งที่ระยะใกล้มากเกินไป
การได้รับแสงแดดธรรมชาติในยามเช้าจะช่วยให้มีสุขภาพดี อีกทั้งการเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน หรือการเล่นในสนามเด็กเล่น จะช่วยให้สายตามีพัฒนาการปกติและสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ ลูทีน และซีแซนทีน ซึ่งมีมากในผักใบเขียว ผลไม้สีเหลือง ส้ม แดง ไข่แดง ปลาแซลมอน ถั่วต่าง ๆ รวมถึงดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน และนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่
เด็กที่เริ่มมีปัญหาสายตาสั้น ในทางการแพทย์มีวิธีที่ช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็ก ที่ใช้ได้ผลจริง 3 วิธีหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นการรักษาแบบ Non-invasive มีความปลอดภัยมากที่สุด เนื่องจากแว่นตาจะไม่สัมผัสกับดวงตาโดยตรง จึงช่วยลดความเสี่ยงเรื่องตาติดเชื้อ ตาอักเสบ ซึ่งเลนส์จะถูกออกแบบมาเพื่อชะลอความยาวกระบอกตาด้วยทฤษฎีลดจำนวน Peripheral Defocus คือ การดึงแสงที่โฟกัสตกหลังจอประสาทตาให้กลับมาโฟกัสพอดีบนจอประสาทตาให้ได้มากที่สุด
วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับปานกลาง-ค่อนไปทางสูง อย่างไรก็ตาม หากมองถึงด้านความปลอดภัยในการรักษา การใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้นจะเป็นวิธีที่ร้านแว่นตาส่วนใหญ่ รวมถึง Occura แนะนำมากที่สุด
นอกจากนี้ ผลการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีพบว่าการใช้เลนส์แว่นตา MiYOSMART ทุกวันทำให้สายตาสั้นช้าลงโดยเฉลี่ยกว่า 50% เมื่อเทียบกับการใส่เลนส์สายตาชั้นเดียวแบบมาตรฐาน
วิธีนี้เป็นวิธีป้องกันการเพ่งที่ใช้ควบคุมค่าสายตาในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีผลข้างเคียงจากตัวยาที่มากพอกัน คือ ทำให้ตามัวมองไม่ค่อยเห็น เรียนลำบาก รวมถึงมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ หากหยุดใช้ยามักกลับมามีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
เป็นการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งในระหว่างนอนหลับ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตาให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใส่นอนทุกวันอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีตามที่ต้องการ หากหยุดใช้คอนแทคเลนส์ก็จะกลับมามีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ความยากของวิธีนี้คือการใส่และถอดอย่างถูกวิธี ผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ รวมถึงเด็กต้องให้ความร่วมมือ เช่น ไม่ขยี้ตาขณะใส่คอนแทคเลนส์หรือพยายามถอดออก ด้วยเงื่อนไขในการใช้งานที่หลากหลาย ทำให้การใช้งานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
สำหรับเด็กที่มีปัญหาสายตาสั้น พ่อแม่และผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อสุขภาพสายตาที่ดีในระยะยาว โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม การจะเลือกวิธีชะลอสายตาสั้นในเด็กด้วยวิธีการใดก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างนักทัศนมาตรและจักษุแพทย์ เพื่อหาวิธีการป้องกันและรักษาที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
แก้ปัญหาสายตาสั้นในเด็กด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ด้วยการใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้น กับ Occura ที่ให้บริการตรวจวัดสายตาโดยคุณหมอนักทัศนมาตร พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ พร้อมให้คำปรึกษา และคัดสรรเลนส์ที่เหมาะกับค่าสายตาของเด็ก ๆ มากที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง :
สามารถเริ่มตรวจค่าสายตาได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และควรตรวจซ้ำทุก ๆ 1 ปี โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องสายตาสั้น ควรสังเกตสัญญาณบ่งชี้อย่างใกล้ชิด
ในกรณีที่เด็กสายตาสั้นก่อนอายุ 6 ขวบค่อนข้างเป็นอันตราย เพราะเด็กจะเห็นภาพไม่ชัด ส่งผลต่อพัฒนาการด้านสายตาและสมอง และทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ปกติ และหากว่าพบในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตาอื่น ๆ ตามมา
การรักษาสายตาสั้นในเด็กทำได้เพียงการชะลอไม่ให้สายตาสั้นเพิ่มเท่านั้น
ลูกค้าเก่าวัย 6…
ลูกค้าเก่า วัย …
This website uses cookies.