สาระน่ารู้เรื่องสายตา, บทความน่ารู้

‘ค่าสายตาผิดปกติ’ ไม่ใส่แว่นตาได้หรือไม่ และควรดูแลสายตาอย่างไร

หากพบ “ค่าสายตาผิดปกติ” และละเลยไม่ใส่แว่นตา โอกาสที่ค่าสายตาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีสูง

เนื่องจากการใช้สายตาที่มีค่าสายตาผิดปกติโดยไม่ได้รับการตรวจวัดเพื่อแก้ไขด้วยการใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม จะเพิ่มภาระให้กับดวงตา เพราะทุกครั้งที่มองเห็นวัตถุไม่คมชัด ดวงตาจะตอบสนองด้วยการเพ่ง หรือหรี่ตา ทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดกระบอกตา แสบตา เคืองตา หรือเกิดอาการปวดหัวตามมา หากละเลยและไม่รีบแก้ไข ปล่อยให้ดวงตาต้องเพ่งตลอด มีแนวโน้มที่จะทำให้ค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้น การมองเห็นแย่ลงจากอาการตาล้า ตาแห้ง ดังนั้นหากสังเกตพบว่าการมองเห็นของตนเองผิดปกติ ควรปรึกษานักทัศนมาตร เพื่อตรวจวัดค่าสายตาเพื่อหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใส่แว่นตาเพื่อให้ภาพคมชัดและลดการเพ่ง ก็จะช่วยให้อาการปวดตา เคืองตา และปวดหัวดีขึ้น และลดโอกาสที่ค่าสายตาเพิ่มขึ้น

 

สำหรับคนที่มีค่าสายตาผิดปกติและใส่แว่นตาอยู่เป็นประจำ ก็ยังจำเป็นต้องดูแลสุขภาพดวงตาควบคู่ไปด้วย โดยเริ่มจากลดการมองระยะใกล้เป็นเวลานานๆ เช่น อ่านหนังสือ เล่นสมาร์ทโฟน ใช้งานคอมพิวเตอร์ หากจำเป็นต้องใช้งานสายตากับกิจกรรมเหล่านี้จริงๆ ควรมีช่วงเวลาให้สายตาได้พักจากการเพ่งอย่างน้อย 5-10 นาที

 

การใช้สายตาภายในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็เป็นวิถีดูแลถนอมสายตาอีกทางหนึ่ง เช่น ไม่อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเนื่องจากต้องเพ่งเพื่อให้ภาพคมชัด หรือไม่อ่านหนังสือหรือเล่นสมาร์ทโฟนระหว่างอยู่บนรถหรือกำลังเดิน เพราะสายตาก็ต้องเพ่งเพื่อให้เห็นภาพที่คมชัด ในขณะที่ดวงตาต้องเปลี่ยนโฟกัสตลอดเวลา เดี๋ยวภาพชัด เดี๋ยวภาพเบลอจากการสั่นสะเทือน เพิ่มภาระให้กล้ามเนื้อตานำไปสู่อาการปวดกระบอกตาและปวดหัวได้

 

สำคัญที่สุด ไม่ว่าคุณจะใส่แว่นตาเป็นประจำหรือเริ่มมีอาการมองเห็นภาพไม่ชัด ก็ควรตรวจสุขภาพสายตาทุกๆ 1 ปี เพราะนอกจากจะตรวจสายตาเพื่อให้แน่ใจว่าการมองเห็นชัดทุกระยะแล้ว หากพบความผิดปกติเบื้องต้นจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพดวงตาจากนักทัศนมาตร


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320