สาระน่ารู้เรื่องสายตา

สายตาสั้นเกิดจากอะไร มีวิธีดูแลไม่ให้ค่าสายตาแย่ลงได้อย่างไร?

ศึกษาสายตาสั้นเกิดจากอะไร

ในปัจจุบันอาการ ‘สายตาสั้น’ เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากปัจจัยการใช้ชีวิตที่ต้องจ้องทั้งจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอดเวลา จนหลายคนต้องเจอกับอาการสายตาสั้น แต่บางคนกลับมองว่า อาการสายตาสั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะใคร ๆ ก็เป็นกัน แต่รู้หรือไม่? ว่าอาการสายตาสั้นเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไข เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาการอาจแย่ลงได้

 

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า สายตาสั้นเกิดจากอะไร เราจะมาเคลียร์ให้รู้กันชัด ๆ ถึงสาเหตุการเกิด พร้อมวิธีดูแลให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ติดตามกันได้เลย

 

สายตาสั้นเกิดจากอะไร?

สายตาสั้น (Myopia) คือความผิดปกติในการมองเห็นที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเจน แต่หากเป็นวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ จะเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของรูปร่างของลูกตาหรือเลนส์ตา โดยกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้ได้รับแสงที่หักเหมากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกิดจากความยาวของลูกตาที่ผิดปกติ หรือลูกตามีขนาดใหญ่กว่าปกติ ส่งผลให้จุดรวมแสงตกกระทบอยู่ที่ด้านหน้าเรตินา จึงทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะไกลได้ไม่ชัดเจนนัก โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่

 

  • สาเหตุจากพันธุกรรม โดยมักพบในครอบครัวที่มีประวัติคนสายตาสั้น ซึ่งพันธุกรรมจะส่งผลต่อลักษณะของกระจกตาและลูกตา ทำให้กระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ หรือลูกตายาวผิดปกติ ส่งผลให้มีแนวโน้มในการเกิดปัญหาสายตาสั้นได้
  • สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสายตาสั้นได้ เช่น การใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างน้อย หรือการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน

สายตาสั้นมีกี่ระดับ

ระดับของสายตาสั้นจะวัดด้วยหน่วยที่เรียกว่า ไดออปเตอร์ (D) ซึ่งเป็นค่าความโค้งของกระจกตาและลูกตาที่มากกว่าปกติ โดยสามารถนำมาแบ่งเป็นระดับของสายตาสั้นได้ 2 ระดับหลัก คือ

 

สายตาสั้นระดับปกติ

ค่าสายตาจะอยู่ที่ช่วงระหว่าง -0.25 ถึง -3.00 ไดออปเตอร์ หรือมีค่าสายตาสั้นน้อยกว่า 300 ซึ่งผู้ที่มีอาการสายตาสั้นระดับต่ำมักจะยังมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ในระดับหนึ่ง แต่หากอยู่ไกลมากก็จะเริ่มมองเห็นไม่ชัดเจน

 

สายตาสั้นระดับมาก

ค่าสายตาจะมีระดับที่มากกว่า – 6.00 ไดออปเตอร์ หรือมีค่าสายตาสั้นมากกว่า 600 ขึ้นไป ซึ่งผู้ที่มีอาการสายตาสั้นระดับสูงมักมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจนนัก จึงต้องอาศัยแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์เพื่อปรับสายตาให้สามารถมองได้ปกติ

 

ตรวจสอบอาการสายตาสั้นเป็นประจำ

หากมีอาการสายตาสั้นควรทำอย่างไร?

ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันการเกิดสายตาสั้นได้ แต่ก็สามารถดูแลสายตาเพื่อช่วยให้ระบบการมองเห็นโดยรวมดีขึ้นได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

 

ตรวจวัดสายตาเป็นประจำทุกปี

การตรวจวัดสายตาเป็นประจำทุกปีจะสามารถช่วยให้ทราบถึงค่าสายตาที่ชัดเจน และเลือกวิธีการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการสายตาสั้น เนื่องจากระดับสายตาอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งการตรวจวัดสายตาเป็นประจำยังจะช่วยให้ทราบถึงค่าสายตาที่แท้จริง ที่สำคัญยังจะช่วยตรวจหาภาวะผิดปกติทางสายตา เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และทำการรักษาตั้งแต่แรกเพื่อลดความรุนแรงของโรคได้

 

สวมใส่แว่นที่เหมาะสมกับค่าสายตา

การใส่แว่นสายตา ถือเป็นวิธีพื้นฐานในการรักษาสายตาสั้นที่มีประสิทธิภาพ โดยแว่นตาจะทำหน้าที่หักเหแสงให้ตกกระทบที่จุดบนจอประสาทตา ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเพ่งสายตา ซึ่งจำเป็นต้องสวมใส่แว่นที่มีค่าสายตาที่ถูกต้อง ผ่านการวัดโดยจักษุแพทย์ นักทัศนมาตร หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ เพราะการใส่เลนส์แว่นที่ไม่ตรงกับค่าสายตา นอกจากจะทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังอาจทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ และอาจส่งผลทำให้สายตาแย่ลงได้

 

ดูแลปัญหาสายตาสั้น ด้วยการสวมใส่แว่นที่มีค่าเลนส์ที่เหมาะกับสายตาของเรา ที่ Occura Vision ร้านแว่นตาในย่านห้วยขวาง เดินทางสะดวก ให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจวัดสายตาด้วยเทคโนโลยีทันสมัยครบวงจรตามมาตรฐานสากล โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมดูแลอย่างใส่ใจ เพื่อการมองเห็นที่ดียิ่งกว่าเคย! สนใจตัดแว่นสายตา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-611-6823 หรือทาง LINE @occura

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. สายตาสั้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน แนะนำโดยจักษุแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Myopia
  2. ภาวะสายตาสั้นในเด็ก แก้ไขได้ ไร้กังวล. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2022/childhood-myopia
  3. วิธีรักษาสายตาสั้น แก้ไขปัญหาการมองเห็นไม่ชัด มีวิธีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 จาก https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/myopia-treatment