ถึงแม้การขับรถตอนกลางคืนในสภาพแสงน้อยและทัศนวิสัยที่จำกัดจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง ด้วยเหตุนี้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการขับขี่ยามวิกาล “แว่นตาใส่ขับรถตอนกลางคืน” จึงเป็นสิ่งที่ควรพกไว้ติดตัว บทความนี้จะมาบอกถึงสาเหตุของปัญหาค่าสายตาที่เป็นอุปสรรคในการขับขี่ตอนกลางคืน พร้อมแนะนำวิธีการเลือกแว่นที่เหมาะสม เพื่อให้การขับรถตอนกลางคืนอุ่นใจกว่าที่เคย ติดตามได้เลย
ในตอนกลางคืน สายตาเอียงแม้เพียงเล็กน้อย (0.25-0.50 D) ก็สามารถส่งผลให้เกิดการมองเห็นแสงเป็นแฉกหรือดาวกระจายได้อย่างชัดเจน การขับขี่ในทัศนวิสัยเช่นนี้เป็นเวลานานอาจทำให้สายตาล้า ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมรถ ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหานี้มักถูกมองข้ามเนื่องจากผู้ที่มีสายตาเอียงเล็กน้อยไม่รู้สึกว่าการมองเห็นผิดปกติในช่วงกลางวัน
วิธีแก้: อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก เพียงใส่แว่นตาขับรถกลางคืนที่แก้ไขค่าสายตาเอียงอย่างถูกต้องก็เพียงพอแล้ว
ตรงตามชื่อ “สายตาสั้นกลางคืน” เพราะนี่คือภาวะที่ค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โดยมักพบในคนที่มีรูม่านตากว้างกว่าปกติเมื่อทัศนวิสัยรอบตัวมืดลง ทำให้เกิดความคลาดแสง (Spherical Aberration) ส่งผลให้สายตาสั้นเพิ่มขึ้นประมาณ 0.50 ไดออปเตอร์เมื่อเทียบกับกลางวัน
วิธีแก้ไข: การใช้แว่นตาใส่ขับรถตอนกลางคืนที่มีค่าสายตาสั้นที่เหมาะสมสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยแนะนำให้ปรึกษานักทัศนมาตรเพื่อตรวจวัดค่าสายตาอย่างละเอียด
ในบางครั้ง ประสิทธิภาพการมองเห็นที่น้อยลงยามขับรถกลางคืน ก็มาจากการสวมใส่แว่นตาที่มีค่าสายตาไม่ถูกต้อง โดยปัญหานี้เกิดจากการตัดแว่นสายตาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือค่าสายตาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ค่าสายตาบนแว่นไม่สัมพันธ์กับค่าสายตาที่แท้จริง หากค่าคลาดเคลื่อนไม่มาก อาจทำให้มีปัญหาเฉพาะตอนกลางคืน แต่กลางวันยังมองเห็นได้ชัดปกติ
วิธีแก้ไข: ควรเปลี่ยนเลนส์แว่นตาขับรถกลางคืนและอัปเดตค่าสายตาให้ตรงกับค่าสายตาที่แท้จริง โดยการตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญ
เลนส์แว่นตาที่ใช้งานมานานหรือดูแลไม่ถูกวิธีอาจเกิดปัญหาโค้ทเคลือบเลนส์เสื่อมสภาพ เช่น เกิดรอยขีดข่วน รอยถลอก เลนส์ขุ่นมัว หรือโค้ทแตกลายงา ซึ่งถึงแม้จะไม่ส่งผลต่อการมองเห็นเท่าไรนักในเวลากลางวัน แต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะแย่ลงมากเมื่อต้องใส่ขับรถตอนกลางคืน
วิธีแก้ไข: ในกรณีนี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นตาขับรถตอนกลางคืนใหม่ เนื่องจากไม่สามารถเคลือบโค้ทเลนส์ทับลงไปในเลนส์คู่เดิมได้
ปัญหานี้พบบ่อยในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำหรือขยี้ตาบ่อย โดยเมื่อเกิดความเสียหายบนกระจกตา จะทำให้ผิวตาดำขรุขระไม่เรียบ ส่งผลให้แสงวิ่งผ่านเข้าตาไม่สะดวก ตาไวต่อแสง และทัศนวิสัยช่วงกลางคืนแย่ลง
วิธีแก้ไข: ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ หลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพื่อให้กระจกตาได้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพสมบูรณ์ โดยในระยะเวลาดังกล่าว ไม่ควรขับรถ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน และถ้าไม่อยากกลับมาเป็นอาการนี้ซ้ำ แนะนำให้เปลี่ยนมาใส่แว่นตาขับรถกลางคืนแทนคอนแทคเลนส์ในระยะยาว
โรคต้อกระจกพบมากในกลุ่มคนวัย 50-60 ปีขึ้นไป เป็นความขุ่นที่เกิดขึ้นในเลนส์แก้วตา ทำให้มองเห็นสีเพี้ยน ในการใช้สายตาต้องการแสงสว่างมากขึ้นเพื่อเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน และมี Contrast สีแย่ลงในเวลากลางคืน
วิธีแก้ไข: ในกรณีที่โรคต้อกระจกส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา แน่นอนว่าควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
วิตามิน A มีความสำคัญในการสร้าง Rhodopsin ซึ่งเป็นสารที่ช่วยแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังสมอง ดังนั้น ถ้าร่างกายขาดวิตามิน A จะทำให้จอประสาทตาทำงานได้ไม่เต็มที่ มีความไวต่อแสงลดลง มองเห็นลำบากโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
วิธีแก้ไข: รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A เช่น ตับ ปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว มะเขือเทศ มะละกอ หรืออาจรับประทานวิตามิน A เสริมตามคำแนะนำของแพทย์
สำหรับปัญหาข้อ 1-4 ที่อธิบายไปข้างต้น แว่นตาเลนส์มัลติโค้ทที่ใส่ค่าสายตาอย่างเหมาะสมสามารถช่วยแก้ไขได้เป็นอย่างดี ตอบโจทย์สำหรับการใส่ขับรถตอนกลางคืน ดังนั้น เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัย สามารถมาเข้ารับบริการตัดแว่นตาใส่ขับรถตอนกลางคืนได้ที่โอคูระ (Occura Vision) ร้านแว่นตาที่เน้นการดูแลและให้บริการตัดแว่น บริการตัดเลนส์แพ้แสง รวมถึงตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดโดยนักทัศนมาตรประสบการณ์สูงที่มีความเชี่ยวชาญ และทางร้านคัดสรรกรอบแว่นสายตาดีไซน์หลากหลายมาให้ได้เลือกเป็นเจ้าของ ทั้งแบบโดดเด่นสะดุดตา เรียบหรูคลาสสิค ทะมัดทะแมงสไตล์สปอร์ต หรือ กรอบแว่นน้ำหนักเบา เหมาะสมกับทุกการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของคุณ สนใจตัดเลนส์แว่นสายตา คุณภาพดี ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-645-0192 หรือทาง LINE @occura
ข้อมูลอ้างอิง:
ลูกค้าเก่า วัย …
This website uses cookies.