จากต้อกระจกสู่เส้นทางศิลปะของ Claude Monet

Monet, Self-Portrait with a Beret. 1886

Claude Monet หรือ Oscar-Claude Monet จิตรกรชาวฝรั่งเศส ผู้จุดประกายสำคัญในศิลปะ Impressionist ผลงานที่โดดเด่น เช่น Garden and Waterlily pond in Giverny. การวาดภาพที่เน้นถึงความประทับใจในสิ่งที่พบเห็นโดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ Outdoor ทำให้ต้องอยู่กลางแจ้งกลางแสงแดดเป็นเวลานานๆเพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพวาด ทำให้เค้าพบกับอุปสรรคในการมองเห็นนั่นคือต้อกระจก เนื่องจากสมัยนั้น ความรู้เรื่องสุขภาพตาและผลกระทบของรังสี UV ที่ส่งผลต่อดวงตาและโรคต้อกระจกยังไม่แพร่หลายเหมือนทุกวันนี้ Monet จึงไม่ตระหนักถึงอันตรายของแสง UV และผลกระทบที่ตามมาหากใช้เวลาอยู่ข้างนอกโดยไม่ใส่เลนส์แว่นตาที่ป้องกันแสง UV

 

The Water Lily Pond (Credit to National Gallery of London, www.nationalgallery.org.uk )

 

ต้อกระจก เกิดจากอะไร….

คือภาวะที่เลนส์ตา ( Lens ) เสื่อม สูญเสียความโปร่งใส เลนส์ขุ่นมัว จากอายุที่มากขึ้นและแสงยูวีเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดได้เร็วขึ้น ส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว มองภาพซ้อน contrast สีลดลง มองเห็นแสงกระจาย ภาพมัวหมองลง

ผลกระทบของอาการต้อกระจกต่องานศิลปะของ Monet

  • 1914-1915 อาการต้อต้อกระจกเริ่มแย่ลง : Monet บอกว่า “สีไม่มีความเข้มข้นเหมือนเมื่อก่อน สีแดงดูขุ่นมัว และภาพโดยรวมดูมืดมัวลง”
  • เมื่ออาการเริ่มแย่ลง Monet เลยแปะชื่อสีบนหลอดเพื่อป้องกันความผิดพลาด และใส่หมวกฟางใบใหญ่เพื่อป้องกันแสงแดดที่จ้าในเวลากลางวัน

ผลงาน Monet ช่วงที่มีโรคต้อกระจก cataract

1903-1906 สายตาปกติ

1915-1922 มี Cataract

1925 หลังจากผ่าตัดและใช้เลนส์ Zeiss Katral

 

 

สายตา Monet ก่อนผ่าตัด cataract

  • Right Eye: Light Perception only เห็นเพียงแค่แสงเลือนลาง และบอกทิศทางไม่ได้
  • Left Eye: 20/200

ปี 1923 จักษุแพทย์ Coutela ได้ทำการผ่าตัดตาข้างขวา เพื่อเอาเลนส์ข้างขวาที่เป็นต้อออก หลังจากนั้นได้ใช้แว่นตา aphakic แต่ระหว่างที่ใช้เลนส์นี้ Monet complain ว่าเห็นทุกอย่างเป็นโทนสีน้ำเงิน (cyanopsia) และวัตถุรอบตัวโค้งแปลกไป

 

 

ปี 1924 จักษุแพทย์คนใหม่ของ Monet ชื่อ Jacque Mawas ได้วินิจฉัยและจ่ายเลนส์ Zeiss Katral ที่ช่วยแก้ไขปัญหามองภาพแล้ววัตถุโค้งกับเห็นภาพแล้วสีออกฟ้าๆ Monet จึงกล่าวว่า “แว่นที่ Mawas จ่ายให้นั้นมัน perfect” และ หมอ Mawas ยังได้ปิดตาข้างซ้ายด้วยเลนส์ดำ เพื่อให้การมองเห็นในตาข้างขวาพัฒนาดีขึ้น พอเริ่มปรับตัวเข้ากับแว่นใหม่หลังผ่าตัด ตาข้างขวาที่เคยมองไม่เห็นกลับมาดีขึ้นจนเห็นถึง 20/30 เกือบเท่ากับเฉลี่ยคนทั่วไปกับ ค่ากำลังของเลนส์สายตาขวา +10.00 เอียง +4.00 x90

 

 

Monet เริ่มกลับมาทำงานศิลปะของเขาอีกครั้งและได้ retouched ภาพที่เขาวาดในช่วงก่อนผ่าตัดให้มีสีที่สดใส โทนน้ำเงินอ่อนและเขียวธรรมชาติ คมชัดและละเอียดขึ้น เสมือนภาพที่เขาวาดก่อนที่จะมีอาการต้อกระจก ถ้าในยุคนั้น Monet ได้มีความรู้เกี่ยวกับแสง UV และต้อกระจก และมีเลนส์ multicoat ที่สามารถ ป้องกันแสง UV ได้ เราอาจจะได้เห็นงานศิลปะระดับ master piece ของ Monet ได้มากกว่านี้ หลังผ่าตัด Monet ได้ซื้อเลนส์ Zeiss Katral ที่ราคาสูงมากในยุคนั้น ทำให้เขาได้มองเห็นและสร้างผลงานต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน Zeiss ได้พัฒนาเลนส์เคลือบโค๊ท UVProtect มาต่อเนื่อง เพราะเห็นถึงผลกระของ UV ต่อดวงตา

 

 

ตอนนี้เรามีความรู้มากพอเกี่ยวกับอันตรายของแสง UV ก็อยากจะให้ผู้อ่านดูแลสุขภาพตา รู้วิธีปกป้องดวงตาจากแสงยูวี และสวมแว่นตาที่มีเลนส์เคลือบโค๊ทกันแสง UV ไม่ว่าจะเลนส์ใสหรือ เลนส์สี แว่นสายตากันแดด เพื่อให้การมองเห็นอยู่กับเราไปยาวนาน

 

 

References:

1. Br J Gen Pract. The effect of cataracts and cataract surgery on Claude Monet. 2015 May; 65(634): 254-255

2. National Gallery London, Monet The Water Lily pond,

https://www.nationalgallery.org.uk/paintings/claude-monet-the-water-lily-pond

3. https://www.zeiss.com/vision-care/us/better-vision/understanding-vision/the-vision-of-monet.html

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

แว่นตาโอคูระ

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Recent Posts

This website uses cookies.