ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตาที่มองในระยะใกล้ไม่ชัดเจน หรือสายตามองไกลไม่ชัด หลายคนอาจสงสัยว่า แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าสายตาสั้น หรือสายตายาว ? มาเข้าใจความหมาย ของภาวะสายตาสั้นและสายตายาวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในบทความนี้ พร้อมรู้จักสัญญาณเตือนและวิธีแก้ปัญหาสายตาที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณ
หากการมองของคุณมีปัญหาเด่นชัดคือ “มองใกล้ชัด มองไกลไม่ชัดหรือตอนกลางคืนมองเห็นแย่กว่าตอนกลางวัน ” คุณกำลังประสบปัญหา “สายตาสั้น” เข้าแล้ว
การใช้สายตามากเกินไปไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสายตาสั้น แต่เป็นเพราะความผิดปกติของ “โครงสร้างดวงตา” อาจเกิดจากกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้มีกำลังหักเหแสงมากเกินไป ลำแสงจึงไปรวมกันก่อนถึงจอประสาทตา แต่ในบางรายอาจเกิดจากการมีลูกตายาวผิดปกติจนทำให้ลำแสงรวมกันก่อนถึงจอประสาทตาก็เป็นได้
นอกจากอาการข้างต้น ยังมีอาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าคุณเข้าข่าย “สายตาสั้น” ซึ่งแต่ละอาการยังมีสาเหตุต่างกัน ได้แก่
มองไกล ๆ เห็นภาพเบลอไม่คมชัดตลอดเวลา : อาการสายตามองไกลไม่ชัดเกิดจากจุดรวมแสงตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้การมองภาพที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพเบลอ
ต้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ จึงเห็นภาพชัดขึ้น : เวลาที่เราเดินเข้าไปใกล้วัตถุ จะทำให้จุดรวมแสงถูกผลักไปด้านหลัง ใกล้กับจอประสาทตามากขึ้น จึงมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นนั่นเอง
หยีตาเวลามองไกลแล้วรู้สึกชัดขึ้น : เวลาที่เราหยีตา รูม่านตาจะหดตัว ทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น เพราะคนที่มีปัญหาสายตาสั้น ยิ่งรูม่านตาขยายภาพจะยิ่งเบลอ
มองไม่เห็นป้ายบอกทางเวลาขับรถ : ทั้งตัวอักษรที่เล็กและระยะของป้ายที่ไกลเกินกว่าที่จุดรวมแสงจะตกกระทบมาที่จอประสาทตา เมื่อแสงตกก่อนถึงจอประสาทตา ต่อให้มีค่าสายตาเพียงน้อยนิดก็ส่งผลให้มองไม่ชัดได้เช่นกัน
ในที่แสงน้อยมองเห็นภาพแย่ลงกว่ากลางวันอย่างมาก : เนื่องจากตอนกลางคืน หรือในสภาวะแสงน้อย รูม่านตาจะตอบสนองต่อความมืดโดยจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับปริมาณแสงเข้าสู่ตา ยิ่งทำให้คนสายตาสั้นมองเห็นภาพคมชัดได้น้อยลง เรียกว่า ยิ่งมืดสายตายิ่งแย่
หากถามว่าการมองใกล้ไม่ชัด หมายถึงสายตาสั้นหรือยาว ? ก็ตอบได้เลยว่าหมายถึงสายตายาว ยิ่งถ้าการมองเห็นของคุณคือการ “มองไกลชัด แต่มองใกล้ไม่ชัด” และมีอาการปวดตา ปวดศีรษะเมื่อต้องใช้สายตาใกล้ ๆ ร่วมด้วย นั่นอาจแปลว่าคุณอาจกำลังประสบปัญหา “สายตายาว” อยู่ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยก็คือ “ภาวะสายตายาวตามวัย” นั่นเอง
สายตายาวตามวัย เกิดจากการเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลักคือ
1. เลนส์ตาเสื่อมความยืดหยุ่น
เมื่อมีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เลนส์ตาจะค่อย ๆ แข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ตาปรับโฟกัสในระยะใกล้ได้ยากขึ้น
2. กล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนแรงลง
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการปรับโฟกัสของเลนส์ตาจะทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ส่งผลให้การมองเห็นในระยะใกล้แย่ลง
3. การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภายในตา
นอกจากเลนส์ตาแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของดวงตาก็มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยเช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในตานี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นได้
ภาวะสายตายาวตามวัย เป็นกระบวนการเสื่อมตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกคน และไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นสายตาเพื่อเพิ่มการมองเห็นที่ชัดเจนขึ้น
นอกจากอาการที่กล่าวถึงไปแล้ว ยังมีสัญญาณอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเข้าข่าย “สายตายาว” อีกได้แก่
มองใกล้ ๆ เห็นภาพเบลอไม่คมชัด : เกิดจากจุดรวมแสงตกกระทบหลังจอประสาทตา ทำให้การมองภาพที่อยู่ใกล้ไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพเบลอ
ต้องถือหนังสือหรือดูโทรศัพท์ไกลขึ้น ถึงจะเห็นได้ชัด : เมื่อเราถือวัตถุออกห่างจากตา จะทำให้จุดรวมแสงเคลื่อนมาข้างหน้า ใกล้กับจอประสาทตามากขึ้น จึงมองเห็นภาพชัดเจนขึ้น
มีอาการปวดตา ปวดศีรษะ เมื่อมองใกล้นาน ๆ : เกิดจากกล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักเพื่อปรับโฟกัสให้เห็นภาพชัดในระยะใกล้
มีปัญหาในการอ่านตัวหนังสือขนาดเล็ก : ตัวอักษรขนาดเล็กต้องการการโฟกัสที่แม่นยำ ซึ่งคนสายตายาวจะมีปัญหาในการปรับโฟกัสให้ชัดในระยะใกล้
มองเห็นได้ดีขึ้นในที่มีแสงสว่างมาก : แสงสว่างจะทำให้รูม่านตาหดตัว ช่วยเพิ่มความคมชัดของภาพ ทำให้คนสายตายาวมองเห็นได้ดีขึ้นในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
1. การใส่แว่นสายตา
เป็นวิธีที่แนะนำเป็นอันดับแรกหากต้องการที่จะมองเห็นระยะไกลได้ชัดเจนขึ้นสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้น การใส่แว่นสายตาถือว่ามีความปลอดภัยต่อดวงตาสูงที่สุด อีกทั้งการใส่แว่นโดยใช้เลนส์นูนเพื่อช่วยรวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี ยังเป็นวิธีแนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตายาวด้วย
2. การใส่คอนแทคเลนส์
เหมาะกับกิจกรรมที่ไม่สะดวกใส่แว่น เช่น กีฬาผาดโผน การออกกำลังกายที่มีการกระแทกหรือเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ไม่ชอบการใส่แว่นก็สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ แต่ต้องใส่-ถอดและทำความสะอาดดูแลอย่างถูกวิธีอยู่เสมอ
3. การผ่าตัดรักษา
วิธีการที่นิยมสูงสุดในตอนนี้คือ การทำเลสิก รองลงมาคือการใส่เลนส์เสริมฝังเข้าไปในดวงตาเพื่อแก้ไขค่าสายตา วิธีการรักษากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงบางอย่างที่ควรทราบ จึงควรปรึกษาจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณาก่อนตัดสินใจเสมอ
คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติของสายตา หรือรู้สึกไม่สบายตาเมื่อต้องใช้สายตาในระยะใกล้ และไกล ควรปรึกษานักทัศนมาตร เพื่อตรวจวัดสายตาและรับคำแนะนำในการดูแลรักษาที่เหมาะสม การปล่อยปัญหาสายตาไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานระยะยาวได้
หากมีปัญหาสายตา ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นในระยะใกล้-ไกลได้ไม่ชัดเจน หรือมองเห็นภาพซ้อนจากภาวะสายตาเอียง เข้ามาปรึกษาเพื่อตัดแว่นสายตาสั้น-ยาว หรือตัดแว่นสายตาเอียง ในราคาที่คุ้มค่ากับคุณภาพ ที่ให้บริการตรวจวัดสายตาโดยคุณหมอนักทัศนมาตร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดแว่น และเลือกเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณโดยเฉพาะ ได้ที่ Occura มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว
ลูกค้าเก่า วัย …
This website uses cookies.