อาการมองไม่ชัดตอนกลางคืน ปัญหาสายตาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตมากกว่าที่คิด

มองไม่ชัดตอนกลางคืน หรือ ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia) มักพบในคนที่มีค่าสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้นหรือสายตาเอียง โดยเฉพาะคนที่มีสายตาเอียง อาจสร้างปัญหาจากการมองเห็นไม่ชัดได้มากกว่า เช่น เห็นแสงจากดวงไฟหรือไฟท้ายรถคันหน้าฟุ้ง หรือเห็นเป็นเส้นเเฉกกระจายออกจากกัน ทำให้วิสัยทัศน์ในการขับขี่แย่ลง ตัดสินใจลำบากขึ้น ส่วนสาเหตุที่ตอนกลางวันมองเห็นได้ชัด เพราะแสงสว่างทำให้รูม่านตาหดเล็กลง จึงช่วยชดเชยการมองเห็นให้คมชัดขึ้นนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน เกิดขึ้นจากสองส่วนประกอบกัน ได้แก่ Optical components และSensory components

1. Optical components เมื่อตกกลางคืนแสงน้อยลง รูม่านตาจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มการรับแสงเข้าสู่ตา ซึ่งการที่รูม่านตาใหญ่ขึ้นนั้นจะเกิดผลข้างเคียงที่เรียกว่า Spherical Aberration ขึ้น โดยเเสงที่วิ่งผ่านจุดกึ่งกลางตาดำ (กึ่งกลางรูม่านตา) จะตกลงบนจอรับภาพพอดี เเต่เเสงที่วิ่งผ่านส่วนขอบๆรูม่านตาจะตกก่อนถึงจอรับภาพ ทำให้เกิดจุดที่เเสงโฟกัสหลายตำเเหน่ง ภาพที่ได้ก็จะไม่คมชัด นี่คือผลจากการเกิดSpherical Aberration เมื่อโครงร่างของวัตถุหรือภาพที่เห็นนั้นคมชัดไม่ดีพอร่วมกับเเสงน้อย จะทำให้ตาเข้าสู่สภาวะ Tonic Accommodation คือสภาวะที่ระบบเพ่งของตาไม่ถูกกระตุ้น ทำให้ภาวะสายตาสั้นโผล่ออกมา โดยปกติเเล้วความโค้งของกระจกตาจะมีการชดเชยสายตาสั้นที่เกิดจาก Spherical Aberration อยู่เเล้ว แต่ทำไมจึงยังเกิดภาวะนี้อยู่ คำตอบคือการชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากสรีระดวงตาเเต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้บางคนมีภาวะ Night Myopia เกิดขึ้นนั่นเอง สาเหตุนี้จะมีผลทำให้ภาพแย่ลงมาก

2. Sensory components ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ Purkinje Shift ร่วมกับ Chromatic Aberration โดยทั่วไปจอตาจะมีความไวต่อแสงที่ความยาวคลื่นต่างกันในสภาวะที่มีปริมาณแสง (สว่าง-มืด) ในสภาวะที่มีแสงสว่างปกติเซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่น 555 นาโนเมตร ขณะที่ในภาวะที่มีแสงน้อยหรือที่มืด เซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าคือ 510 นาโนเมตร เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Purkinje Shift

ส่วน Chromatic Aberration คือ ปรากฎการณ์ที่เมื่อแสงสีขาวเดินทางผ่านกระจกตา แสงขาวนั้นจะแยกออกเรียงตามลำดับของความยาวคลื่นโดยเรียงการตกโฟกัสก่อนไปหลังและจากคลื่นสั้นไปหาคลื่นยาว (คลื่นสั้นสุดคือสีม่วง, คราม, น้ำเงิน, เขียว, เหลือง, แดง คือคลื่นยาวที่สุด) เมื่อปรากฎการณ์ Purkinje Shift และ Chromatic Aberration เกิดขึ้นพร้อมกันจะทำให้การมองเห็นภาพแย่งลง

ผลของ Optical components และ Sensory components ทำให้แสงความยาวคลื่นสั้นตกหน้าจอตาและดวงตาที่มีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้นในที่มืดนั้น ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นในตอนกลางคืนหรือที่ๆ มีแสงน้อย

ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia) อาจส่งผลกระทบต่อไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตตอนกลางคืนนอกบ้านมากขึ้น ยิ่งคนที่ต้องขับรถตอนกลางคืน ทำให้มองถนน ป้ายบอกทางไม่ชัด อาจตัดสินใจได้ช้าลงหากเกิดเหตุไม่คาดคิดกะทันหัน หรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานตอนกลางคืน ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่สุขภาพตาของคุณจะแย่ลง

คืนความคมชัดยามค่ำคืนด้วยเลนส์

อาการที่กล่าวมานั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์ที่มีค่าสายตาที่ถูกต้องควบคู่กับการเลือกใช้โค้ตบนผิวเลนส์ไม่ว่าจะเป็น Drivesafe จาก Zeiss, Seecoat Bright จาก Nikon, Solitaire Protect Road 2 จาก Rodenstock, Crizal Drive จาก Essilor เลนส์เหล่านี้จะช่วยลด Aberrations ประเภทต่างๆ ลดเเสงฟุ้งและเเสงสะท้อนตอนกลางคืน ช่วยเพิ่ม Contrast ในสภาวะที่มีเเสงน้อย ทำให้การมองเห็นในที่มืดและแยกเฉดสีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

หากสังเกตว่าตนเองเริ่มมองไม่ชัดตอนกลางคืน ไม่แน่ใจว่าอาการดังกล่าวเข้าข่ายภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia) หรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษานักทัศนมาตรประจำร้าน Occura เพื่อตรวจด้วยเครื่อง WAM (Wave Analyzer Medica 700) [เครื่อง WAM คืออะไรคลิกที่นี่] ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ช่วยของนักทัศนมาตรในการวิเคราะห์ปัญหาสายตาเเละการมองเห็นต่างๆ สามารถวัดค่าสายตาตอนกลางวันและตอนกลางคืนได้อย่างแม่นยำ รวมถึงวัดค่าบิดเบือน Lower และ Higher order aberrations อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เห็นแสงฟุ้งกระจายในเวลากลางคืน ทำให้บอกได้ว่ามีภาวะ Night Myopia หรือค่าสายตาที่ควรแก้ไขเพื่อช่วยให้การมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้นหรือไม่

ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด นักทัศนมาตรสามารถตรวจวัดได้ ด้วยเครื่อง WAM และเครื่อง Digital Phoropter ในห้องมืดความยาวมาตรฐานสากล 6 เมตร เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่ถูกต้องเเละเเม่นยำที่สุด พร้อมให้คำแนะนำเลนส์เฉพาะบุคคลที่สามารถแก้ไขภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนได้อย่างตรงจุด

เพื่อให้การมองเห็นของคุณคมชัดทั้งกลางวันและกลางคืน และใช้ชีวิตตลอดทั้งวันในทุกวันได้อย่างปลอดภัย ด้วยความปรารถนาดีจาก Occura

Image Credit: disq – stock.adobe.com, Copyright: ©disq – stock.adobe.com

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

แว่นตาโอคูระ

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Recent Posts

This website uses cookies.