สาระน่ารู้เรื่องสายตา

สายตาเอียงเกิดจากอะไร การมองเห็นเป็นแบบใด ?

ผู้หญิงปวดหัวจากการเพ่งมองจอ เนื่องจากมีอาการสายตาเอียง

เคยไหมที่รู้สึกเหมือนมองอะไรก็ไม่ชัดเจน ทั้งภาพระยะไกลและระยะใกล้ ทั้งยังมองเห็นแสงกระจายยามค่ำคืน แถมหลาย ๆ ครั้งยังต้องหรี่ตาเพื่อฝืนโฟกัส ทำให้รู้สึกปวดหัวจากการเพ่งมองนาน ๆ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนของอาการสายตาเอียง ภาวะทางสายตาที่พบได้บ่อย ซึ่งหากไม่รีบดูแลอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้

 

Occura ชวนมารู้ถึงสาเหตุของอาการสายตาเอียงว่าเกิดจากอะไร พร้อมวิธีเช็กอาการสายตาเอียงว่ามีลักษณะอย่างไรในบทความนี้

 

รู้จักภาวะสายตาเอียง (Astigmatism)

 

สายตาเอียง เป็นภาวะทางสายตาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คน จะมีภาวะสายตาเอียง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และส่วนมากมักจะพบร่วมกับปัญหาสายตาสั้น และสายตายาว สำหรับในประเทศไทย พบว่าผู้ที่มีปัญหาสายตากว่า 50% มักจะมีค่าสายตาเอียงร่วมด้วย

 

ภาวะสายตาเอียง เกิดจากความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตาที่ช่วยในการหักเหแสง เพราะโดยปกติแล้ว กระจกตาและเลนส์ตาจะมีรูปร่างโค้งกลม แต่ในผู้ที่มีสายตาเอียง กระจกตาจะมีความโค้งไม่เท่ากัน หรือมีรูปร่างผิดไปจากเดิม ทำให้เกิดจุดโฟกัส 2 จุดในตำแหน่งที่ต่างกัน ไม่รวมเป็นภาพเดียว ส่งผลให้การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นภาพเบลอ มองไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

 

อาการสายตาเอียงเป็นอย่างไร ?

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะอาการ “สายตาเอียง” หรือไม่ ? สามารถเช็กได้จาก 5 อาการต่อไปนี้พร้อมสาเหตุของอาการ

 

  1. มองเห็นภาพมีเงา หรือ ไม่ชัดตลอดเวลา : เกิดจากกระจกตาในแต่ละแกนองศามีกำลังหักเหแสงที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดจุดโฟกัสขึ้นมากกว่าหนึ่งจุดในตำแหน่งที่ต่างกัน ทำให้มีอาการตามัว ภาพที่เห็นจะเหมือนมีเงาลาง ๆ ตลอดเวลา
  2. เห็นแสงฟุ้งกระจายเวลามองดวงไฟ โดยเฉพาะตอนกลางคืน : เกิดจากแสงที่โฟกัสมากกว่าหนึ่งตำแหน่งร่วมกับภาวะที่รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น จึงเกิดความคลาดแสงเพิ่มขึ้น จนทำให้เห็นแสงฟุ้งกระจายเป็นเส้น ๆ
  3. แพ้แสง สู้แสงไม่ได้ : เกิดจากระบบการรับภาพของดวงตาที่รับจุดโฟกัสแสงหลายจุดพร้อมกันมากเกินไป จนทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองด้วยอาการแพ้แสงขึ้น
  4. อาการเมื่อยล้าตา ปวดกระบอกตา : มักจะเกิดเวลาใช้สายตาทำงานระยะใกล้ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมาก ๆ เนื่องจากคนที่มีสายตาเอียงมักจะมองเห็นภาพไม่ชัด จึงต้องอาศัยการเพ่งของกล้ามเนื้อตาเพื่อลดเงาให้น้อยลงช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้ แต่ดวงตาจะอ่อนแรงจากการทำงานหนัก ทำให้มีอาการปวดตา ปวดหัวได้
  5. ขับรถตอนกลางคืนลำบากกว่ากลางวัน : เนื่องจากแสงสว่างตอนกลางวันทำให้รูม่านตาหดเล็กลง ซึ่งเป็นการลดความคลาดแสงต่าง ๆ ให้น้อยลง ภาพจึงชัดขึ้น ต่างจากตอนกลางคืนที่รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น จึงเพิ่มความคลาดแสงต่าง ๆ ภาพที่เห็นจึงเบลอ

 

ปัญหาค่าสายตาเอียง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว

 

ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง นอกจากจะสร้างความรำคาญใจจากการมองเห็นไม่ชัดเจนแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพตาและคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ดังนี้

 

  • ความเมื่อยล้าของตา การมองภาพเบลอหรือเพ่งมองนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนัก ส่งผลให้รู้สึกปวดตา ตาพร่า เหนื่อยล้า ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนทั้งระยะไกลและระยะใกล้ อาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะ
  • การเรียนและการทำงาน อาจมีปัญหาในการอ่านหนังสือ เรียนหนังสือ หรือการทำงานที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
  • การมองเห็นในเวลากลางคืน ผู้ที่มีสายตาเอียงบางรายอาจมองเห็นแสงไฟกระจายในตอนกลางคืน จึงต้องใช้กล้ามเนื้อตาในการเพ่งมอง เพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ได้รับจากสายตาเอียง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากสงสัยว่าคุณกำลังมี อาการสายตาเอียงหรือไม่ และกังวลว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตระยะยาว แนะนำให้ปรึกษากับคุณหมอนักทัศนมาตรที่ Occura เพื่อประเมินอาการและตรวจวัดสายตาเบื้องต้น

 

ภาพที่มองเห็นเมื่อมีอาการสายตาเอียง

 

“สายตาเอียง” หากแก้ไขไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตระยะยาวได้

 

อาการสายตาเอียง สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ ซึ่งอย่างที่บอกไปว่า สาเหตุหลักเกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้การโฟกัสของแสงมีปัญหา ซึ่งความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับค่ากำลังของสายตาเอียงที่มี แต่โดยทั่วไปสายตาเอียงมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ แต่ในผู้ที่มีโรคตาอื่น ๆ ร่วมด้วย อาจส่งผลให้ค่าสายตาเอียงเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

 

ดังนั้น หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและแก้ไขที่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว ทั้งการมองเห็นภาพไม่ชัดเจนจนต้องเพ่งและเกิดอาการเมื่อยล้าตา วิสัยทัศน์ตอนกลางคืนแย่ลงจนอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

 

นอกจากนี้ ค่าสายตาเอียงที่สูงมากขึ้น ยังอาจทำให้มีอาการแย่ไปอีกเรื่อย ๆ กล่าวคือมากกว่า -4.00D ขึ้นไป จะมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระจกตาโป่ง (Keratoconus) ที่สูงขึ้น การได้รับประเมินจากการตรวจด้วยเครื่อง WAM จะสามารถค้นพบโรคนี้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงช่วยชะลอการเกิดของโรคได้อย่างทันท่วงที

 

หากสงสัยว่า ตนเองมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสายตาเอียงหรือไม่ และกังวลว่าจะส่งผลระยะยาวต่อการใช้ชีวิต แนะนำให้ปรึกษานักทัศนมาตรเพื่อประเมินอาการและตรวจวัดสายตาเบื้องต้น ยิ่งถ้าคุณมีปัญหาสายตาสั้นและสายตายาวอยู่แล้ว ควรตรวจวัดสายตาทุก ๆ 6 เดือน เพื่อติดตามอาการและแก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างถูกต้อง

 

สำหรับใครที่กำลังมองหาร้านตัดแว่นสายตาที่ครบครันทั้งคุณภาพเลนส์ พร้อมกรอบแว่นดีไซน์สวยงาม ต้องมาที่โอคูระ (Occura Vision) ร้านตัดแว่นสายตาที่เน้นการดูแลและให้บริการตรวจวัดสายตาแบบละเอียดที่เหนือกว่าร้านตัดแว่นทั่วไป ดำเนินการโดยคุณหมอนักทัศนมาตรเฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดสายตาที่พร้อมมอบการมองเห็นที่ชัดเจน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-611-6823 หรือทาง LINE @occura

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ภาวะสายตาเอียง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567. จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/astigmatism