ตาเข ตาเหล่ คือสภาวะที่ตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกัน เมื่อมองวัตถุชิ้นเดียวกัน โดยจะมีเพียงตาข้างที่ปกติเพียงข้างเดียวเท่านั้นที่จ้องวัตถุที่ต้องการมอง ส่วนตาข้างที่เหล่อาจเบนเข้าด้านในหรือด้านนอก ขึ้นบนหรือล่าง ตาทั้งสองข้างจึงเห็นภาพไม่เหมือนกันและมีภาพซ้อนเกิดขึ้น

ตาเขตาเหล่มักเกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. พันธุกรรม

  2. กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาตจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา

  3. มีการอักเสบเช่น ไทรอยด์เป็นพิษหรือประสบอุบัติเหตุ

  4. สายตายาวที่ผิดปกติในเด็ก

  5. มีโรคภายในลูกตาเช่น มะเร็งจอตาในเด็กหรือต้อกระจกแต่กำเนิด

หากพบตาเหล่ในเด็กควรรีบแก้ไขทันทีเพราะจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการมองเห็นในอนาคต

การรักษาตาเขตาเหล่จะแบ่งออกเป็น2แบบหลัก คือผ่าตัดกับไม่ผ่าตัด ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงวิธีการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเท่านั้น

  1. การจ่ายแว่นปริซึมจะช่วยเปลี่ยนทิศทางแสงที่เข้าสู่ตาข้างที่เหล่ ทำให้ตาทั้งสองข้างเห็นภาพหรือวัตถุเดียวกันจึงไม่เห็นภาพซ้อน

  2. การฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา เพื่อให้กล้ามเนื้อตามีแรงมากขึ้น เพียงพอที่จะทำให้ตากลับมาตรงได้ เป็นวิธีที่ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอและใช้เวลาค่อนข้างนาน

  3. ตาเขตาเหล่สามารถนำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจในเด็กได้ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาในทันทีก่อนที่เด็กจะมีอายุเกิน8-9ปี เพราะการมองเห็นของเด็กจะยังกลับมาดีเหมือนเดิมได้ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาการมองเห็นของเด็กจะแย่ลงและแก้ไขได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการรักษาจะทำด้วยวิธีPatchingหรือการปิดตาข้างที่ปกติเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่เหล่กลับมาทำงานมากขึ้น โดยปิดวันละ6ชั่วโมง หากตากลับมามองเห็นดีขึ้นจึงลดจำนวนชั่วโมงการปิดตาให้น้อยลงตามลำดับ

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

แว่นตาโอคูระ

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Recent Posts

This website uses cookies.