ทุกวันนี้ปัญหาการมองเห็นไม่ได้มาจากค่าสายตาที่ผิดปกติเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยมากมายหลากหลายประการที่ส่งผลให้การมองเห็นของเราแย่ลง เครื่อง WAM หรือ Wave Analyzer Medica ที่ตรวจขนาดของรูม่านตาและการตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา และสามารถตรวจค่าสายตาได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จึงเป็นผู้ช่วยของร้านแว่นตามืออาชีพ
WAM เป็นเครื่องมือตรวจประเมินดวงตาส่วนหน้าแบบเต็มระบบที่รวบรวมความสามารถของเครื่องมือหลากหลายชนิดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้วิเคราะห์สาเหตุหรือปัญหาของการมองเห็นได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วยการตรวจWAMเพียงครั้งเดียว ใช้เวลาการตรวจเพียง90-120วินาทีเท่านั้น โดยจะแยกหัวข้อการตรวจดังต่อไปนี้
1. Refraction & Keratometry
Refraction เป็นการตรวจหาค่าสายตาที่ผิดปกติ ค่าสั้น ยาว เอียงนั่นเอง โดยจะแบ่งออกเป็นค่าสายตาในตอนกลางวันและกลางคืน สาเหตุที่ต้องแบ่งแบบนี้ก็เพราะว่าขนาดรูม่านตาของคนเราจะไม่เท่ากันเมื่อแสงภายนอกสว่างไม่เท่ากันนั่นเอง ซึ่งขนาดรูม่านตาที่ต่างกันจะส่งผลทำให้ค่าสายตาที่วัดได้ไม่เท่ากัน เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาวัดสายตาจึงต้องตรวจวัดในห้องที่มืด นั่นก็เพราะว่าในภาวะแสงน้อยจะทำให้รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น ช่วยป้องกันการเพ่งของดวงตาได้เป็นอย่างดี ค่าสายตาที่วัดออกมาได้ก็จะถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ส่วน Keratometryคือค่าตัวเลขที่บอกว่ากระจกตาของเรามีความโค้งเท่ากันในทุกองศาหรือไม่ หากไม่เท่ากันก็จะทำให้เกิดสายตาเอียงขึ้น เกิดจากการที่กระจกตาหักเหแสงในแต่ละแกนองศาได้ไม่เท่ากันนั่นเอง
2. Topography
Topography คือแผนภาพแสดงพื้นผิวของกระจกตาแบบละเอียด สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงโรคกระจกตาโป่งพองได้ (Keratoconus) หากมีความโค้งหรือการยกตัวของกระจกตาที่ผิดปกติจากการดูภาพแบบสามมิติสัมพันธ์กับค่าสายตาเอียงที่มากหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆก็มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคเพิ่มมากขึ้น และตำแหน่งที่ผิดปกตินั้นจะได้รับการประเมินจากนักทัศนมาตรอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการรักษาและแก้ไขการมองเห็นให้ดีขึ้นโดยใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์
3. Aberrometry & Pupillometry
Aberrometry คือการตรวจความคลาดของแสงและสีที่มองเห็น ค่าเหล่านี้จะส่งผลต่อการมองเห็นในตอนกลางคืนเป็นหลัก เช่นภาวะสายตาสั้นเทียม อาการแพ้แสง เห็นแสงฟุ้งกระจาย แสงเป็นวงกลมล้อมรอบดวงไฟ ทำให้Contrastของสีลดลงอย่างมาก ขับรถตอนกลางคืนลำบาก ค่าเหล่านี้คือความผิดปกติของการมองเห็นที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยค่าสายตาที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว แต่ต้องแก้ไขด้วยเลนส์ที่ออกแบบมาแบบพิเศษเพื่อลดแสงฟุ้งและเพิ่มcontrastให้สูงขึ้น
Pupillometry คือการวัดขนาดและตำแหน่งรูม่านตาที่เปลี่ยนไปในที่มืดและสว่างซึ่งสัมพันธ์กับทิศทางของแสงที่เข้าสู่ดวงตา ค่าเหล่านี้ใช้ประเมินว่าคนคนนั้นมีการปรับตัวยากง่ายเพียงไรต่อเลนส์สายตา โดยจะนำไปวิเคราะห์ร่วมกับเลนส์ว่าควรใช้เลนส์ประเภทใด และการถ่ายรูปเพื่อวัดพารามิเตอร์สามมิติเพื่อการประกอบแว่นที่แม่นยำมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ปรับตัวง่ายขึ้นในการใส่แว่นสายตาตัวใหม่นั่นเอง
4. Pachymetry & Tonometry
คือการวัดความหนาของกระจกตา เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงต่อภาวะกระจกตาบางที่อาจจะทำให้เกิดการฉีกขาดของกระจกตาได้ เช่น ภาวะกระจกตาโป่งพอง (Keratoconus) ก็จะทำให้กระจกตาบางได้ เพราะเกิดการยืดหรือบวมนูนในบริเวณนั้นๆ อีกทั้งยังสามารถวัดความกว้างของมุมระบายน้ำภายในตาว่ามีการไหลเข้า-ออกของน้ำที่ดีหรือไม่ หากมีมุมแคบน้ำจะไหลออกได้น้อยส่งผลให้ความดันภายในตาสูงขึ้น ส่วน Tonometry เป็นการวัดความดันภายในลูกตา โดยเป่าลมเบาๆไปที่ดวงตา ปกติจะมีค่าอยู่ที่12-21 จึงจะถือว่าปกติ หากค่าสูงกว่าปกติจะเรียกว่าความดันลูกตาสูง ทั้งมุมระบายน้ำภายในตาที่แคบและความดันลูกตาที่สูงเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้จอประสาทตาถูกทำลาย ลานสายตาที่มองเห็นจะค่อยๆแคบลงเรื่อยๆ เรียกว่า โรคต้อหิน โดยส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือลักษณะภายนอกที่ผิดปกติ ทำให้โรคนี้มักไม่ค่อยถูกตรวจพบในระยะแรก กว่าจะรู้ตัวการมองเห็นก็แคบลงอย่างมากแล้ว กรณีที่นักทัศมาตรประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อโรคจะทำการส่งตัวให้จักษุแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
5. Lens Opacity
เป็นการตรวจความขุ่นของเลนส์แก้วตา มักตรวจในคนที่อายุมากกว่า40ปี สาเหตุของความขุ่นเกิดมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น รังสีUVจากแสงแดด การใช้ยาที่ผสมสเตียรอยด์ และอาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตาได้เช่นกัน โรคนี้มีชื่อว่าต้อกระจก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายเพียงแต่จะส่งผลให้ภาพมัวลงบ้างตามความขุ่นของเลนส์ที่เพิ่มขึ้น สามารถป้องกันได้โดยการใส่หมวกหรือแว่นกันแดดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้แสงUVเข้าสู่ดวงตา และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ในระยะสุดท้ายของโรคเมื่อการมองเห็นแย่ลงอย่างมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไปในดวงตา การมองเห็นก็จะกลับมาใสดังเดิม ซึ่งประเภทของเลนส์เทียมนั้นแบ่งออกเป็นสองแบบ การมองเห็นจะแตกต่างกัน นักทัศนมาตรจะให้ข้อมูลข้อดี-ข้อเสียของเลนส์เทียมเพื่อพิจารณาเลนส์ที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของเราได้
ดังนั้นการตรวจวัดสายตาแต่ละครั้งนั้น นอกจากการตรวจหาค่าสายตาแล้ว ควรจะตรวจสุขภาพตาควบคู่กันไปด้วย เพื่อที่จะวิเคราะห์สาเหตุหรือปัญหาการมองเห็นได้มากยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่ออ่านบทความนี้จบทุกท่านจะมีความเข้าใจในปัญหาสายตามากขึ้น
ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision
100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
ลูกค้าเก่าวัย 6…
ลูกค้าเก่า วัย …
This website uses cookies.